วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข่าวเกี่ยวกับ สคบ.

ข่าวสารจาก สคบ.
บทกำหนดโทษ
ข่าวสารจาก สคบ.
คณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภค มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้โดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจมอบหมายให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง หรือคณะอนุกรรมการหรือพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการเปรียบเทียบปรับได้
ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคหรือผู้ซึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมายให้มีอำนาจ เปรียบเทียบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดง ความยินยอมให้เปรียบเทียบ และเมื่อชำระค่าปรับแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกัน
สำหรับผู้ที่อำนาจ เปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนกลาง ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดใน กรุงเทพมหานคร (เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) กับพนักงานสอบสวนงาน 4 กองกำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาค คือในทุกจังหวัดจะมีคณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจ เปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ คณะอนุกรรมการฯ จะประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน อัยการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นอนุกรรมการ โดยมีข้าราชการในจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

ที่มา : http://www.ocpb.go.th
 
การอุทธรณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ
ข่าวสารจาก สคบ.
เป็นเรื่องที่พระราช บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ประกอบธุรกิจไว้ ในกรณี ที่ผู้ประกอบธุรกิจเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม คือ ไม่พอใจคำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ตามมาตรา 27 หรือมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเป็นคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา โดยผู้ได้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้
ผู้มีสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คือ ผู้ที่ได้รับคำสั่ง เช่น
1. ผู้กระทำการโฆษณา
2. ผู้ประกอบกิจการโฆษณา
3. เจ้าของสื่อโฆษณา
การอุทธรณ์คำสั่งดัง กล่าว ผู้ได้รับคำสั่งจะต้องยื่นต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ ผู้อุทธรณ์ได้ รับทราบคำสั่ง และผู้อุทธรณ์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการยื่นอุทธรณ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2524)
อย่างไรก็ตาม การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการ ว่าด้วยการโฆษณา เว้นแต่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะสั่งเป็นอย่างอื่นเป็นการชั่วคราวก่อน การวินิจฉัยอุทธรณ์ และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคถือเป็นที่สุด (มาตรา44)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น